เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ
ปรับมุมมอง ส่องธุรกิจในยุค Connectivity
การเชื่อมโยงที่มีมากขึ้นทั้งในไทย และระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นับเป็นการพลิกโฉมการทำธุรกิจที่สำคัญ และเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่แบบก้าวกระโดดที่ภาคเอกชนไม่อาจมองข้ามได้ ความตั้งใจของรัฐบาลไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงข่ายความเชื่อมโยงในด้านต่างๆ จะเป็นตัวเร่งสำคัญที่เอื้อให้เกิดโอกาสในการทำธุรกิจของภาคเอกชนในหลายด้าน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาคเอกชนควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อช่วยแสวงหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของตน ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
กลยุทธ์ก้าวนำเกมในยุค Connectivity
ความเชื่อมโยงก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจรูปแบบใหม่ในโลกที่ไร้พรมแดนยิ่งขึ้น และกลายเป็นตัวกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักในประเทศไทยและอาเซียน เทรนด์ของความเชื่อมโยง (connectivity megatrend) ที่เห็นได้ชัดคือการจัดตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นการทลายกำแพงการกีดกันทางการค้าของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน และเป็นการขยายตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคนใน 10 ประเทศ
การเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐเป็นส่วนหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงหลากหลายรูปแบบ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆ ขึ้น โดยในที่นี้เราจะกล่าวถึงเทรนด์ของความเชื่อมโยง 6 ประการซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเอกชนทั้งในไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน
กลุ่ม Generation Y หรือ Gen Y เป็นกลุ่มคน ที่เกิดในช่วงปี 1981-2000 ซึ่งเป็นช่วงที่โลกได้เข้าสู่ ยุคสารสนเทศ ปัจจุบันคนกลุ่มนี้มีอายุ 15-34 ปี ผู้บริโภคกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและเมื่อผนวกเข้ากับอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้พวกเขามีความต้องการและคาดหวังสูงกว่ากลุ่มที่เกิดก่อนหน้า การเติบโตของบริษัทประเภท start-up ทั่วโลกที่พยายามตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่ม Gen Y ในทุกมิติ ทั้งสินค้าและบริการ ยิ่งทำให้ ผู้บริโภคกลุ่มนี้รู้ดีว่าตัวเองมีอำนาจการต่อรองอยู่ในมือ Insight ฉบับนี้จึงมุ่งเสนอผลการวิเคราะห์คุณลักษณะเด่นของกลุ่ม Gen Y ไทย รวมทั้งนำเสนอ แนวทางและกลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนโมเดล ธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในการเจาะตลาดกลุ่ม Gen Y ไทย